เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Nov 2015

กระทิง

Calophyllum inophyllum L.
ทิง เนาวกาน สารภีทะเล สารภีแนน Alexandrian laurel
CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง ๑๕ - ๓๐ เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว ๘ - ๑๕ เซนติเมตร ปลายใบกลมหรือเว้าตื้น โคนใบรูปลิ่มกว้างหรือกลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันวาวทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกแยกแขนงสั้นๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง เกสรเพศผู้ สีเหลือง จำนวนมาก ผลสดมีเมล็ดเดียว ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ผลสุกสีเหลือง เมล็ดขนาดใหญ่ การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ประเทศแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น กัมพูชา เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค จนถึงออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบขึ้นตามชายหาด ที่โล่งชายป่าใกล้ชายฝั่งทะเล ระดับความสูงไม่เกิน ๒๐๐ เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
พบตั้งแต่ประเทศแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น กัมพูชา เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค จนถึงออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบขึ้นตามชายหาด ที่โล่งชายป่าใกล้ชายฝั่งทะเล ระดับความสูงไม่เกิน ๒๐๐ เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน และกระดูกงูเรือ น้ำมันใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และใช้ผสมทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซลจากเมล็ด
-

หนังสือองค์ความรู้เรื่องป่าพืช ที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย

-

21111 views

ผลลัพธ์เพิ่มเติม/Additional Results

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: